ประกันสุขภาพเด็กและลูกสุดรัก มีชดเชยรายได้ AIA HB Plus Gold

แผนประกันสุขภาพเด็กและชดเชยรายวัน

 แผนประกันสุขภาพเด็ก และ ชดเชยรายได้ผู้ปกครอง (หรือเอาไว้ชดเชยค่าห้องส่วนเกิน)

เนื่องจากว่าเด็กเล็กอายุ 0 – 5 ปี ถ้าต้องการซื้อประกันสุขภาพแบบทั่วไปที่ไม่ใช่แพ็คเกจที่บังคับซื้อทุนประกันชีวิตสูงๆ หรือ อยากซื้อคู่กับแบบประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่มีระยะเวลาสั้นๆแล้วได้เงินคืน จะสามารถซื้อแผนประกันสุขภาพได้ค่าห้องสูงสุดเพียง วันละ 2,200 บาทเท่านั้น ในปัจจุบันมีแผนชดเชยรายวันออกมาใหม่ที่ เด็กเล็กอายุ 0 – 5 ปี สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมนี้ได้ ผมแนะนำลูกค้าซื้อแผนนี้เพื่อที่จะสามารถนำเงินชดเชยรายวันที่ได้มาจ่ายส่วนต่างค่าห้องพยาบาลที่เกินมาครับ

ตัวอย่าง

นาย ก. ซื้อประกันสุขภาพให้ลูกสาว อายุ 1 เดือน  แผนค่าห้องพยาบาลวันละ 2,200 บาท และ ซื้อสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายวันๆละ 2,000 บาท 

กรณีที่ 1

ลุกสาวของนาย ก. เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าห้องพยาบาล ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล  รวมวันละ 4,200 บาท นอนรพ. 3 วัน รวมเป็นเงิน 12,600 บาท แต่นาย ก. สามารถเบิกค่าห้องได้วันละ 2,200 บาท X 3 วัน เท่ากับ 6,600 บาท  นาย ก. จะต้องจ่ายส่วนต่างค่าห้อง 6,000 บาทที่เกินมา ผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายวันไว้วันละ 2,000 บาท นอนรพ. 3 วัน เท่ากับว่า นาย ก. ได้เงินชดเชย 6,000 บาท หลังออกจากโรงพยาบาล จะได้รับเป็นเช็ค หรือ โอนเข้าบัญชีธนาคาร(กรณีสมัครบริการ Media Clearing )

กรณีที่ 2

ลุกสาวของนาย ก. เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าห้องพยาบาล ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล  รวมวันละ 2,200 บาท นอนรพ.ทั้งหมด 5 วัน รวมค่าห้องพยาบาลทั้งหมด 11,000 บาท แต่นาย ก. ได้ทำประกันสุขภาพแผนค่าห้องวันละ 2,200 บาทไว้พอดี เท่ากับว่านาย ก. ไม่ต้องชำระส่วนต่างค่าห้องพยาบาลเพิ่มเลย และ นาย ก. ยังได้รับเงินชดเชยรายวันๆละ 2,000 บาท ทั้ง 5 วัน รวมเป็นเงิน 10,000 บาท ลังออกจากโรงพยาบาล จะได้รับเป็นเช็ค หรือ โอนเข้าบัญชีธนาคาร (กรณีสมัครบริการ Media Clearing ) เหมือนเดิม

 

ตารางรายละเอียดความคุ้มครอง

รายละอียดความคุ้มครอง แผน 1 แผน 2 แผน 3 แผน 4
1. กรณี เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ เข้ารักษาในโรงพยาบาล
 1.1 ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลประจำต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 125 วัน) 2,200 2,200 2,200 2,200
 1.2 ค่าห้อง ICU บริษัทชดเชยค่าห้องเป็น 2 เท่าสูงสุดไม่เกิน 5 วัน 4,400 4,400 4,400 4,400
 1.3 ค่าแพทย์ตรวจรักษาในโรงพยาบาล ประจำวันต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 125 วัน) 800 800 800 800
 1.4 ค่าแพทย์ผ่าตัดและหัตถการ 60,000 60,000 60,000 60,000
 1.5 ค่าแพทย์วิสัญญี 6,000 6,000 6,000 6,000
 1.6 ค่าห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด 5,500 5,500 5,500 5,500
 1.7 ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ในโรงพยาบาล 20,000 20,000 20,000 20,000
 1.8 ค่ารถพยาบาลฉุกเฉิน ต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยแต่ละครั้ง 2,200 2,200 2,200 2,200
 1.9 ค่ายากลับบ้าน แต่ละครั้ง ไม่เกิน 7 วัน  1,000  1,000  1,000  1,000
 1.10 ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก(OPD) ต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยแต่ละครั้ง (X-Ray) 3,000 3,000 3,000 3,000
 1.11 ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉิน ขณะเป็น ผู้ป่วยนอก(OPD) (เนื่องจากอุบัติเหตุ) ภายใน 24 ชั่วโมง ต่อการบาดเจ็บแต่ละครั้ง  5,000  5,000  5,000  5,000
2. ชดเชยรายวัน HB Plus  (บาทต่อวัน)
 2.1 กรณีเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล (รวมกรณี Day Case) ชดเชยให้ต่อวัน 1,000 2,000 3,000
 2.2 กรณีเป็นผู้ป่วยใน และ ได้รับการผ่าตัดโดยการวางยาสลบ (Anesthesia) หรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง (Spinal Anesthesia) ชดเชยให้วันละ 2,000 4,000 6,000
 2.3 กรณีเป็นผู้ป่วยใน และรับการรักษาในห้อง ICU  ชดเชยให้วันละ 3,000 6,000 9,000
 2.4 กรณีเป็นผู้ป่วยใน และได้รับการรักษา หรือการผ่าตัด เนื่องจากโรคร้ายแรง 4 โรค ได้แก่

  • โรคมะเร็ง (Cancer)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack)
  • การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery By-pass Surgery)
  • โรคหลอดเลือด สมองแตกหรืออุดตัน (Major Stroke)
3,000 6,000 9,000
 2.5 กรณีเสียชีวิต ชดเชยให้ 10,000 20,000 30,000
ผลประโยชน์รวมสูงสุด (รวมข้อ 1, 2, 3, 4) ต่อการเข้าพักรักษาตัว ครั้งใดครั้งหนึ่ง  – 1,260 วัน

หมายเหตุ

  • ค่ายากลับบ้าน ตามความจำเป็นทางการแพทย์ไมเกิน 7 วัน รวมไม่เกิน 1,000 บาท ต่อการเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลแต่ละครั้ง 
  • ผลประโยชน์สำหรับข้อ 2.3 และ 2.4 รวมกันสูงสุดไม่เกิน 365 วันต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง
  • ชดเชยผลประโยชน์ข้อ 2.5 เพียงครั้งเดียว และสัญญาเพิ่มเติมจะสิ้นผลบังคับ

ระยะเวลารอคอย (Waiting Period)

  • บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ สำหรับการเจ็บป่วยใด ๆ ที่เกิดขึ้นใน ระยะเวลา 30 วัน นับจากวันทำสัญญาเพิ่มเติมนี้หรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมนี้ (Reinstatement) ครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด หรือ
  • บริษัทจะไม่จ่ายผลประโยชน์ตามสัญญาเพิ่มเติมนี้ สำหรับการเจ็บป่วยดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นใน ระยะเวลา 120 วันนับจากวันทำสัญญาเพิ่มเติมนี้หรือวันต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมนี้(Reinstatement) ครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นหลังสุด
    • ไสัเลื่อนทุกชนิด
    • ต้อเนื้อ หรือต้อกระจก
    • การดัดทอนซิล หรืออดีนอยด์
    • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • อายุตั้งแต่ 1 เดือน – 70 ปี และต่อเนื่องได้ถึง อายุ 80 ปี
  • เพศ ชาย / หญิง
  • มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
  • ไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

สิทธิการรักษาแบบ Day Case (ไม่ต้องนอน OPD รพ. เบิกได้) ดังนี้

  1. การสลายนิ่ว ( ESWL:Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy )
  2. การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี ( Coronary Angiogram / Cardiac Catheterization )
  3. การผ่าตัดต้อกระจก ( Extra Capsular Cataract Extraction with Intra ocular Lens )
  4. การผ่าตัดโดยการส่องกล้องทุกชนิด ( Laparoscopic )
  5. การตรวจโดยการส่องกล้องทุกชนิด ( Endoscope )
  6. การผ่าตัด หรือเจาะไซนัส ( Sinus Operations )
  7. การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก ( Injection or Rubber Band Ligation ) (เบิกค่าชดเชยรายวันไม่ได้)
  8. การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม ( Excision Breast Mass )
  9. การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก ( Bone Biopsy ) (เบิกค่าชดเชยรายวันไม่ได้)
  10. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใด ๆ ( Tissue Biopsy ) (เบิกค่าชดเชยรายวันไม่ได้)
  11. การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า ( Amputation )
  12. การจัดกระดูกให้เข้าที่ ( Manual Reduction )
  13. การเจาะตับ ( Liver Puncture / Liver Aspiration )
  14. การเจาะไขกระดูก ( Bone Marrow Aspiration )
  15. การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง ( Lumbar Puncture )
  16. การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด ( Thoracentesis / Pleuracentesis / Thoracic Aspiration / Thoracic Paracentesis )
  17. การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง ( Abdominal Paracentesis / Abdominal Tapping )
  18. การขูดมดลูก ( Curettage, Dilatation & Curettage, Fractional Curettage )
  19. การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก ( Colposcope, Loop diathermy )
  20. การรักษา Bartholin ‘s Cyst ( Marsupialization of Bartholin ‘s Cyst )
  21. การรักษาโรคด้วยรังสีแกมม่า ( Camma Knife )

12 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *