ลดหย่อนภาษี 2558

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2558

วางแผนภาษีปี 2558

การปรับอัตราการเก็บภาษีบุคคลธรรมดาใหม่ หลังหักรายจ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว โดยปรับโครงสร้างภาษีในครั้งนี้เป็นการแบ่งขั้นอัตราภาษีให้ถี่ขึ้น จาก 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 37 เหลือร้อยละ 35 ซึ่งสามารถสรุปเป็นตารางง่าย ๆ ได้ดังนี้

 

ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปี 2557

1. เงินได้สุทธิต่อปี 0 – 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ต้องเสียภาษี
2. เงินได้สุทธิต่อปี 150,001-300,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 10%  ลดเหลือ 5%
3. เงินได้สุทธิต่อปี 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% เสียภาษีเท่าเดิม
4. เงินได้สุทธิต่อปี 500,001-750,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 20% ลดเหลือ  15%
5. เงินได้สุทธิต่อปี 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% เสียภาษีเท่าเดิม
6. เงินได้สุทธิต่อปี 1,000,001-2,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 30% ลดเหลือ  25%
7. เงินได้สุทธิต่อปี 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% เสียภาษีเท่าเดิม
8. เงินได้สุทธิต่อปีมากกว่า 4,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 37% ลดเหลือ 35%

วิธีการลดหย่อนภาษี และยังได้ความคุ้มครองและประกันสุขภาพให้คุณพ่อ-คุณแม่

การนำเบี้ยประกันภัยมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คุณรู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันค่าเบี้ยประกันภัยที่กรมสรรพากรยินยอมให้ผู้มีเงินได้นำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตของตัวผู้มีเงินได้เอง โดยนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้

[icon name=”e-right-open-mini”] ค่าเบี้ยประกันชีวิต ไม่รวมค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ
[icon name=”e-right-open-mini”] เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
[icon name=”e-right-open-mini”] กรณีเป็นกรมธรรม์ประกันชิวิตที่มีผลประโยชน์ตอบแทนคืน ผลประโยชน์ตอบแทนคืนนั้นจะต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตรายปีหรือเบี้ยประกันชีวิตสะสม
[icon name=”e-right-open-mini”] บริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

2. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา โดยนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท มีเงื่อนไขดังนี้

[icon name=”e-right-open-mini”] ผู้มีเงินได้ต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา มารดา
[icon name=”e-right-open-mini”] บิดา มารดา มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาท
[icon name=”e-right-open-mini”] ถ้าผู้มีเงินได้ มิได้อยู่ในประเทศไทย บิดา มารดาต้องอยู่ในประเทศไทย
[icon name=”e-right-open-mini”] กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมชำระเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดา ให้เฉลี่ยหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา มารดาตามจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท

3. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญของตัวผู้มีเงินได้เอง

โดยนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15ของเงินได้และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท มีเงื่อนไขดังน
[icon name=”e-right-open-mini”] เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
[icon name=”e-right-open-mini”] ผู้มีเงินได้ต้องได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้น ทั้งนี้ ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วยแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
[icon name=”e-right-open-mini”] ผู้มีเงินได้ได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอขณะมีชีวิตอยู่
[icon name=”e-right-open-mini”] บริษัทประกันชีวิตที่ออกกรมธรรม์ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย

 

ปุจฉา : ถ้าพ่อ-แม่ ซื้อประกันชีวิตให้ลูก พ่อ-แม่เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันชีวิตแล้วจะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไปนั้นมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของ พ่อ-แม่ได้หรือไม่?

วิสัชชนา : ไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้นำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ซื้อให้กับตนเอง หรือค่าเบี้ยประกันชีวิต ของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หรือค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ซื้อให้พ่อ-แม่ เท่านั้นที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้

ที่มา : ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 162 , 172 และ 194

 

 

0 replies

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *