ประกันโรคร้ายแรง

AIA MULTI-PAY CI PLUS

            ประกันโรคร้ายแรงมีข้อดีหลายประการ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการคุ้มครองและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในช่วงที่เกิดโรคร้ายแรงขึ้น ดังนี้

ข้อดีของประกันชดเชยโรคร้ายแรง

  1. ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย โรคร้ายแรงมักมีค่ารักษาพยาบาลสูง เช่น ค่าผ่าตัด ค่าคีโม หรือค่าดูแลระยะยาว ประกันช่วยลดภาระนี้ได้อย่างมาก
  2. มีเงินก้อนเพื่อการรักษา เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงตามเงื่อนไข กรมธรรม์จะจ่ายเงินก้อนทันที สามารถนำไปใช้เป็นค่ารักษาหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้ตามความจำเป็น
  3. ครอบคลุมโรคร้ายแรงหลายโรค ประกันครอบคลุมโรคสำคัญ เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง และโรคร้ายแรงอื่นๆ
  4. คุ้มครองรายได้ เมื่อเกิดโรคร้ายแรง อาจทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ประกันช่วยให้มีเงินก้อนเพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสีย
  5. ช่วยสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว ลดผลกระทบต่อครอบครัวที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายแทน ช่วยปกป้องอนาคตทางการเงินของครอบครัว
  6. เป็นส่วนเสริมจากสวัสดิการที่มีอยู่ แม้จะมีประกันสุขภาพหรือสวัสดิการอื่นๆ ประกันโรคร้ายแรงยังช่วยเพิ่มความคุ้มครองเพิ่มเติม
  7. สร้างความอุ่นใจ ให้ความมั่นใจว่าหากเกิดโรคร้ายแรงขึ้น จะมีความช่วยเหลือด้านการเงิน ทำให้สามารถโฟกัสกับการรักษาและฟื้นตัวได้เต็มที่

จุดเด่นผลิตภัณฑ์ AIA MULTI-PAY CI PLUS
คุ้มครองมากกว่าโรคร้ายแรงทั่วไป

  •  ความคุ้มครองโรคร้ายแรงที่ครอบคลุมทุกระดับการเจ็บป่วย ทั้งการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคร้ายแรงและที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง รวมถึงโรคอุบัติใหม่ และดูแลคุณไปตลอดแม้ในยามที่เข้าสู่ภาวะฟื้นฟูร่างกายผลประโยชน์สูงสุด 800% ของจำนวนเงินเอาประกันกันภัย
  • โรคร้ายแรงระดับต้นถึงระดับปานกลาง คุ้มครองสูงสุด 5 ครั้ง โรคร้ายแรงระดับรุนแรง คุ้มครองสูงสุด 6 ครั้ง
  • ผลประโยชน์ RELAPSED CI เป็นซ้ำ คูณสอง จ่ายผลประโยชน์ซ้ำสำหรับ 3 โรคร้ายแรระดับรุนแรงที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย เช่น โรคมะเร็ง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองระยะลุกลามจากการขาดเลือดแตกหรืออุดตัน
  • ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต
  • ยกเว้นเบี้ยประกันภัยสัญญาเพิ่มเติมกรณีพบโรคร้ายแรงตามเงื่อนไข
  • ผลประโยชน์กาวะวิกฤตที่มีผลต่อการดำรงชีวิต(MIB: Major Impact Beneft)
  • ผลประโยชน์การดูแลต่อเนื่องจากโรครัายแรง (CCB : Coniminuing Care Benett)จ่ายครั้งเดียวและจ่ายเป็นรายเดือนติดต่อกันรวมทั้งหมด 60 เดือน

เงื่อนไขผลประโยชน์การดูแลต่อเนื่องจากโรคร้ายแรง (ccB) ของสัญญาเพิ่มเติม AIA TOTAL CARE

ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์เป็นครั้งแรกในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้ผลประโยชน์การดูแลต่อเนื่องจากโรคร้ายแรง (CCB) ของสัญญาเพิ่มเติม AIA Total Care ในจำนวน 8 โรคร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพอันได้แก่

  1. โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
  2. ภาวะข้ออักเสบรูมาตอยด์ชนิดรุนแรง
  3. โรคพาร์กินสัน
  4. การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  5. โรคของเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหว
  6. การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ
  7. โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  8. การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
  • ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองอย่างถาวรตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไป ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อยกว่า 180 วัน
  • ไม่สามารถทำงานหรือประกอบอาชีพใด ๆ เพื่อรับค่าตอบแทนหรือกำไรได้ ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 180 วัน
  • การสูญเสียสายตา มือ หรือเท้า ทั้ง 2 ข้าง หรือสูญเสียมือ 1 ข้างและเท้า 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้างและมือ 1 ข้าง หรือสูญเสียสายตา 1 ข้างและเท้า 1 ข้าง

บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ในข้อนี้ ภายใต้เงื่อนไขว่าวันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับการวินิจฉัยและหรือยืนยันจากแพทย์เป็นครั้งแรกในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าการเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายแรงนี้ได้เกิดขึ้น ครั้งแรกก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ภายหลังผู้ประกันภัยมีอายุครบ 80 ปีบริบูรณ์และจำกัดเพียงหนึ่งโรคแรงตามที่ได้รับคุ้มครองภายใต้ผลประโยชน์กรมธรรม์เท่านั้น

ประกันโรคร้ายแรง AIA MULTI-PAY CI PLUS เหมาะกับใครบ้าง

1. เหมาะสำหรับคนที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโรคร้ายแรงทั้งการรักษาตัวในโรงพยาบาลและค่าใช้จ่ายหลังการรักษานอกโรงพยาบาล
2. เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด ต้องการชำระเบี้ยไม่สูงมาก
3.ต้องการได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม เคลมได้หลายรอบหลายครั้งสูงสุดถึง 11 ครั้ง
4. เหมาะสำหรับคนที่ต้องการได้รับความคุ้มครองทั้งชีวิต ทุพลลภาพและโรคร้ายแรงไปพร้อมกัน

คำแนะนำการเลือกประกันโรคร้ายแรง

เลือกกรมธรรม์ที่เหมาะสมกับความต้องการ เช่น ความคุ้มครองที่ครอบคลุมโรคที่มีความเสี่ยงสูงตามประวัติครอบครัว ควรตรวจสอบวงเงินคุ้มครอง ระยะเวลาคุ้มครอง และข้อยกเว้นของกรมธรรม์อย่างละเอียด หากสนใจประกันโรคร้ายแรง สามารถปรึกษาเพื่อวางแผนให้เหมาะสมกับคุณได้เลยครับ

Leave A Comment